❖ ที่ตั้งและอาณาเขต
ที่ว่าการอำเภอบ้านนาสาร ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนเทศบาล 1 ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัด สุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีอำเภอบ้านนาสารเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 19 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 41 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 685 กิโลเมตร อำเภอบ้านนาสาร มีเนื้อที่ 839.3 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 521,875 ไร่
อำเภอบ้านนาสารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีและอำเภอกาญจนดิษฐ์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนบพิตำ (จังหวัดนครศรีธรรมราช)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพิปูน (จังหวัดนครศรีธรรมราช) และอำเภอเวียงสระ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเคียนซาและอำเภอบ้านนาเดิม
- ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอบ้านนาสารมีพื้นที่ราบสูงและภูเขาด้านทิศตะวันออกจะลาดต่ำไปทางด้านทิศตะวันตกเข้าสู่แม่น้ำตาปีซึ่งเป็นแม่น้ำแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอบ้านนาสารกับอำเภอเคียนซาสภาพพื้นที่โดยภาพรวมอำเภอบ้านนาสาร ประกอบด้วยพื้นที่ราบและภูเขาปะปนกันไปพื้นที่ส่วนใหญ่จะเหมาะแก่การปลูกพืชหลายชนิดโดยเฉพาะไม้ผลเพราะมีระดับน้ำตื้น
ซึ่งบางพื้นที่ของอำเภอบ้านนาสารระดับน้ำลึกจากผิวดินประมาณ 1 – 2 เมตร และมีดินที่อุดมสมบูรณ์มากในด้านทิศตะวันออกของอำเภอเป็นดินบริเวณเชิงเขาและความอุดมสมบูรณ์จะลดระดับลงจนจดริมแม่น้ำตาปีซึ่งเป็นบริเวณที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ของอำเภอ สำหรับพื้นที่มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชสามารถแยกออกได้ ดังนี้
– สภาพพื้นที่ในท้องที่ตำบลลำพูน ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาและเนินเขาระหว่างภูเขาจะมีที่ราบเหมาะในการปลูกยางพารา ผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะเงาะโรงเรียน เนื่องจากตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ เป็นที่ตั้งของพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่
– สภาพพื้นที่ท้องที่ตำบลพรุพี ตำบลคลองปราบ และตำบลควนศรี จะมีพื้นที่ลักษณะลอนโดยเป็นเนินสูงบ้างซึ่งเหมาะแก่การปลูกไม้ผล และทำสวนยางพารา และที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาข้าว
– สภาพพื้นที่ในท้องที่ตำบลควนสุบรรณ ตำบลทุ่งเตา ตำบลทุ่งเตาใหม่ จะมีลักษณะพื้นที่ราบและมีเนินเขาเตี้ยปะปนกันไป เหมาะในการทำสวนไม้ผลและปลูกยางพารา – สภาพพื้นที่ในท้องที่ตำบลท่าชีและตำบลน้ำพุ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบ ถึงราบลุ่มเหมาะในการปลูกไม้ผลในที่ดอน และเหมาะแก่การทำนาในที่ราบลุ่ม และมีพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำตาปี ซึ่งจะเป็นที่ลุ่มไม่เหมาะแก่การทำนา เกษตรกรจะใช้ที่ราบลุ่มส่วนนี้ในการเลี้ยงปลา
❖ ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอบ้านนาสารมีพื้นที่ราบสูงและภูเขาด้านทิศตะวันออกจะลาดต่ำไปทางด้านทิศตะวันตกเข้าสู่แม่น้ำตาปีซึ่งเป็นแม่น้ำแบ่งเขตการปกครองระหว่างอำเภอบ้านนาสารกับอำเภอเคียนซาสภาพพื้นที่โดยภาพรวมอำเภอบ้านนาสาร ประกอบด้วยพื้นที่ราบและภูเขาปะปนกันไปพื้นที่ส่วนใหญ่จะเหมาะแก่การปลูกพืชหลายชนิดโดยเฉพาะไม้ผลเพราะมีระดับน้ำตื้น
ซึ่งบางพื้นที่ของอำเภอบ้านนาสารระดับน้ำลึกจากผิวดินประมาณ 1 – 2 เมตร และมีดินที่อุดมสมบูรณ์มากในด้านทิศตะวันออกของอำเภอเป็นดินบริเวณเชิงเขาและความอุดมสมบูรณ์จะลดระดับลงจนจดริมแม่น้ำตาปีซึ่งเป็นบริเวณที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ของอำเภอ สำหรับพื้นที่มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชสามารถแยกออกได้ ดังนี้
– สภาพพื้นที่ในท้องที่ตำบลลำพูน ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาและเนินเขาระหว่างภูเขาจะมีที่ราบเหมาะในการปลูกยางพารา ผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะเงาะโรงเรียน เนื่องจากตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ เป็นที่ตั้งของพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่
– สภาพพื้นที่ท้องที่ตำบลพรุพี ตำบลคลองปราบ และตำบลควนศรี จะมีพื้นที่ลักษณะลอนโดยเป็นเนินสูงบ้างซึ่งเหมาะแก่การปลูกไม้ผล และทำสวนยางพารา และที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาข้าว
– สภาพพื้นที่ในท้องที่ตำบลควนสุบรรณ ตำบลทุ่งเตา ตำบลทุ่งเตาใหม่ จะมีลักษณะพื้นที่ราบและมีเนินเขาเตี้ยปะปนกันไป เหมาะในการทำสวนไม้ผลและปลูกยางพารา
– สภาพพื้นที่ในท้องที่ตำบลท่าชีและตำบลน้ำพุ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบ ถึงราบลุ่มเหมาะในการปลูกไม้ผลในที่ดอน และเหมาะแก่การทำนาในที่ราบลุ่ม และมีพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำตาปี ซึ่งจะเป็นที่ลุ่มไม่เหมาะแก่การทำนา เกษตรกรจะใช้ที่ราบลุ่มส่วนนี้ในการเลี้ยงปลา
- สภาพภูมิอากาศ
อำเภอบ้านนาสาร ได้รับปริมาณน้ำฝนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายนของทุกปี ทำให้เกิดฝนตกเล็กน้อยในช่วงนี้และจะมีฝนตกชุกในเดือนตุลาคม – ธันวาคมของทุกปี นอกจากนี้อำเภอบ้านาสาร ยังได้รับอิทธิพลของใต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้ประมาณเดือนตุลาคม – ธันวาคมของทุกปีจากอิทธิพลของมรสุมและใต้ฝุ่น ซึ่งจะได้รับอิทธิพลในช่วงเดียวกัน จึงทำให้ฝนตกชุกอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอซึ่งเป็นที่ราบลุ่มในพื้นที่อำเภอบ้านนาสารจะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 38 องศาเซลเซียส แบ่งฤดูกาลของอำเภอบ้านนาสารสามารถแบ่งได้ 2 ฤดู คือฤดูร้อนและฤดูฝน สำหรับฤดูหนาวไม่ชัดเจน เพราะบางปีในช่วงฤดูหนาว จะรู้สึกหนาวเล็กน้อยโดยเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายนของทุกปี สำหรับบางปีฤดูร้อนจะเลยไปถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ธันวาคมของทุกปี
❖ การเมืองการปกครอง
อำเภอบ้านนาสารแบ่งการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็นตำบล หมู่บ้าน โดยประกอบด้วย ตำบลจำนวน 11 ตำบล หมู่บ้าน จำนวน 65 หมู่บ้าน 25 ชุมชน ดังนี้
ตำบล | จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน | รายชื่อกำนัน |
นาสาร | 25 | – |
คลองปราบ | 5 | นายวีระศักดิ์ บัวแก้ว |
พรุพี | 7 | นายทรงศิลป์ ชูช่วยสุวรรณ |
ลำพูน | 7 | นายเสน่ห์ จรดิษฐ์ |
เพิ่มพูนทรัพย์ | 6 | นายสุภกิจ เกษกล้า |
ควนสุบรรณ | 7 | นายฉัตรชัย แคล้วอ้อม |
ทุ่งเตา | 5 | นายณรงค์ อินทรักษ์ |
ทุ่งเตาใหม่ | 8 | นายสุพร รักษาศรี |
ควนศรี | 8 | นายยุทธฉัตร ศฤงคาร |
น้ำพุ | 6 | นายอนุรักษ์ ทองสุข |
ท่าชี | 6 | นายจักรินทร์ ถุงทอง |
เขตการปกครองและการบริหาร
– เทศบาล จำนวน 5 แห่ง
– องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 6 แห่ง
ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | ชื่อผู้บริหาร | ชื่อปลัด |
เทศบาลเมืองนาสาร | นายโกศล ศุทธางกูร | ว่าที่ ร.ต. ประยูรศักดิ์ ลิ่มพาณิชย์ |
เทศบาลตำบลคลองปราบ | นายสมหมาย หนูศรีแก้ว | นายธนภัทร ตรีทัศน์ |
เทศบาลตำบลพรุพี | นายสมคิด ดำฉวาง | นายพงษ์ศักดิ์ รักษาวงศ์ |
เทศบาลตำบลท่าชี | นายบัญชา หนูภักดี | ว่าที่ ร.ต.ภิญโญ วัชชะสวัสดิ์ |
เทศบาลตำบลควนศรี | นายธีระ โพธิ์เพชร | นางสิริกร ศรีนวล |
องค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน | นายเสกศรรณ กาโห | นายพรไชย ริยาพันธ์ (รักษาการ) |
องค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ | นายเสกสรรค์ ดำกุล | นายปริญญา คล้ายสุวรรณ |
องค์การบริหารส่วนตำบลควนสุบรรณ | นายสมควร มากบุญ | นางนัชรี ศรีทอง |
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพุ | นายถนัดกิจ โพธิ์โพ้น | นายประเสริฐ จันทบูรณ์ |
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตา | นายสำราญ โพธิ์โพ้น | นายทวีศักดิ์ ศิลปพรหมมาศ |
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเตาใหม่ | นายถาวร สุขกิจ | นางสาวขวัญจิตต์ เพชรอนันตกุล |